วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การรับรู้ภาวะผู้นำ

ของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน กรณีศึกษาเทศบาลนครลำปาง
Title Alternative
Administrators' leadership perception that effects working efficiency: case study nakhon Lampang municipality

Classification :.DDC: 658.4092
Description
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนะของการรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ พนักงานซึ่งปฏิบัติงานในสำนักงานเทศบาลนครลำปาง จำนวน 250 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นโดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดนสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ใน 5 ด้าน คือ 1. ด้านภาวะผู้นำแบบเน้นงาน 2. ด้านภาวะผู้นำแบบเน้นคน 3. ด้านภาวะผู้นำแบบปล่อยปละละเลย 4. ด้านภาวะผู้นำแบบประนีประนอม 5. ด้านภาวะผู้นำแบบทีมงาน และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานใน 7 ด้าน คือ 1. ด้านปริมาณงานและความรับผิดชอบ 2. ด้านความรู้เกี่ยวกับงาน 3. ด้านความสามารถในการเรียนรู้งาน 4. ด้านมนุษยสัมพันธ์และทักษะในการสื่อสาร 5. ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6. ด้านการให้ความร่วมมือและการประสานงาน แล 7. ด้านความเชื่อถือไว้วางใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติ regression เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม จากผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา เทศบาลนครลำปาง ซึ่งทัศนะ โดยรวมของการรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร อยู่ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96) ด้านภาวะผู้นำที่มีค่าเฉลี่ยมาที่สุด คือ ด้านภาวะผู้นำแบบทีมงาน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.22) รองลงมาได้แก่ ด้านภาวะผู้นำแบบประนีประนอม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21) ด้านภาวะผู้นำแบบเน้นคน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.05) และด้านภาวะผู้นำแบบเน้นงาน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79) ส่วนด้านสุดท้ายซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านภาวะผู้นำแบบปล่อยปละละเลย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52) นอกจากนี้ทัศนะโดยรวมด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการให้ความร่วมมือและการประสานงาน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66)รองลงมาได้แก่ ด้านปริมาณงานและความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55) ด้านความรู้เกี่ยวกับงาน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43) และด้านมนุษยสัมพันธ์และทักษะในการสื่อสาร (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย้อยที่สุด คือ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12) และงานศึกษาครั้งนี้เป็นไปตามสมมติฐานคือ การับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน กรณีศึกษาเทศบาลนครลำปาง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.05 จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าภาวะผู้นำแบบทีมงาน และภาวะผู้นำแบบประนีประนอม มีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ ภาวะผู้นำแบบทีมงาน(Beta = 0.264) ภาวะผู้นำแบบประนีประนอม(Beta = 0.241) ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 2 ตัว กับประสิทธิภาพการทำงาน ของพนักงานมีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.05 (F =5.582, P=0.001 และ 0.002) โดยมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.478 (R=0.478) แสดงว่าตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดชุดนี้ร่วมกันสามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ0.228 (R2=0.478) โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 0.370 (SE=0.370) เกตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าภาวะผู้นำแบบทีมงานจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานและมีการติดตามและประเมินผลงานทำให้พนักงานต้องมีความเอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมายและภาวะผู้นำแบบประนีประนอม ไม่ชอบความขัดแย้ง เลือกแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมทำให้พนักงานมีความต้องการที่จะค้นหาความรู้เกี่ยวกับงานประนีประนอมเพื่อให้ได้งานและพนักงานมีความพึงพอใจ ทำให้การรับรู้ภาวะผู้นำแบบทีมงานและภาวะผู้นำแบบประนีประนอมมีความสัมพันธ์และมีผลกกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ลำปาง
Email: webmaster_library_lpru@hotmail.co.th
Email: webmaster_library_lpru@hotmail.co.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2551
Modified: 2556-08-13
Issued: 2551-09-01
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: วจ 658.4092 จ226ก
Language
tha
Coverage
ลำปาง
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง



การรับรู้ภาวะผู้นำ และเจตคติในการปฏิบัติงานองค์ประกอบด้านความรู้สึก : กรณีศึกษาพนักงาน บริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด
Title Alternative
Perception of Leadership and Work Attitude in Affective component : a case study of Employees Of Thai Suzuki Motor Company Limited

Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ภาวะผู้นำ และระดับเจตคติในการ ปฏิบัติงานองค์ประกอบด้านความรู้สึกของพนักงาน 2) ศึกษาเปรียบเทียบเจตคติในการปฏิบัติงาน องค์ประกอบด้านความรู้สึกของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลx3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ภาวะผู้นำกับเจตคติในการปฏิบัติงานองค์ประกอบด้านความรู้สึกของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานบริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด จำนวน 293 คน และใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าพนักงานบริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด ส่วนใหญ่มีการรับรู้ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง และมีเจตคติในการปฏิบัติงานองค์ประกอบด้านความรู้สึกในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วน บุคคลของพนักงาน ด้านอายุงาน มีผลต่อเจตคติในการปฏิบัติงานองค์ประกอบด้านความรู้สึก อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติในการปฏิบัติงานองค์ประกอบด้านความรู้สึกอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ส่วนการรับรู้ภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย มีความสัมพันธ์ทางลบกับเจตคติใน การปฏิบัติงานองค์ประกอบด้านความรู้สึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract: The objectives of this research are 1) to study the level of perceived leadership and work attitude in affective component of employees 2) to compare work attitude in affective component of employees who have different personal factors 3) to study the relationship between the perceived leadership and work attitude in affective component of employees. This research was carried out with 293 employees of Thai Suzuki Motor Company Limited. The research was conducted through questionnaire survey. Data collected through the survey were analyzed in percentage, means, standard deviation, t-test, One-way Analysis of Variance and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Results of the study revealed majority of employees had perceived transformational leadership and had work attitude in affective component at moderate level. Personal factors that influenced the levels of work attitude in affective component were periods of working at .05 statistically significant level. The perceived transformational leadership and transactional leadership had a positive relationship with work attitude in affective component at .01 statistically significant level. Laissez-Faire leadership had negative relationship with work attitude in affective component at .01 statistically significant level.
Publisher
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@kmutnb.ac.th
Role: ที่ปรึกษาสารนิพนธ์
Email : nns@kmutnb.ac.th
Role: ที่ปรึกษาสารนิพนธ์
Email : wpy@kmutnb.ac.th
Date
Created: 2551
Modified: 2552-07-13
Issued: 2552-06-04
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: สพ MIOP ส274ศ
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
RightsAccess:


Title
การรับรู้ภาวะผู้นำและพฤติกรรมการทำงานของหัวหน้างานระดับต้นของบริษัท ไทย แอร์พอร์ตกราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด
Title Alternative
Perception of Leadership Styles and Working Behavior of Lower Level Foremen of Thai Airport Ground Services Co.,Ltd.

Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้ภาวะผู้นำและพฤติกรรมการทำงานของหัวหน้างานระดับต้นที่มีต่อหัวหน้าระดับสูงขึ้นไป (2) ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ภาวะผู้นำที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน (3) ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ภาวะผู้นำที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน (4) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำและพฤติกรรมการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานระดับต้นจำนวน 170 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบกลุ่ม 2 กลุ่มโดยใช้ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) หัวหน้างานระดับต้นมีการรับรู้ภาวะผู้นำอยู่ในระดับปานกลาง และ มีพฤติกรรมการทำงานอยู่ในระดับสูง (2) หัวหน้างานระดับต้นที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ภาวะผู้นำด้านการสร้างแรงบันดาลใจและการให้รางวัลตามสถานการณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .02 และ .03 ตามลำดับ หัวหน้างานระดับต้นที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ภาวะผู้นำทั้ง 3 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 หัวหน้างานระดับต้นที่มีระยะเวลาในการปฎิบัติงานต่างกันมีการรับรู้ภาวะผู้นำด้านการสร้างบารมี ด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ ด้านการบริหารแบบวางเฉยเชิงรุก และ แบบตามสบายด้านการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .04 ตามลำดับ (3) หัวหน้างานระดับต้นที่มีสถานภาพและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการทำงานด้านการแก้ปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .04 และ .03 (4) การรับรู้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงและแบบแลกเปลี่ยนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 000 แต่การรับรู้ภาวะผู้นำแบบตามสบายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานโดยรวมและรายด้านในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003
Abstract: Objectives of this study were; (1) to investigate the level of perception of leadership styles and working behavior, (2) to do the compare study of personal data that might affect the perception of leadership styles and working behavior; (3) to out the relationship between perception of leadership styles and working behavior. Subjects were 170 operators of Lower Foremen of Thai Airport Ground Services Co. , Ltd. Data were collected by questionnaires and analyzed by computer program. Statistics of percentage, mean, standard deviation, T-test, F-test and Pearson correlation were used. The results showed as follows; (1) perception of leadership styles were moderate and working behavior were high (2) Foremen with differ sex perceived leadership styles of inspiration and contingent reward differently as .02 and .03 respectively, Foremen with different level of education perceived all of leadership styles differently at .05, Foremen who earned differently salary perceived the whole leadership styles differently at .000, Foremen who were different tenure perceived leadership styles of charisma, contingent reward active transaction leadership and laissez faire of component different at .01 and .04 respectively (3) Foremen who hold different marital status and level of education showed the significant different in working behavior of solving problem at .04 and .03
Publisher
มหาวิทยาลัยเกริก.สำนักหอสมุด
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: Matana@Krirk.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Date
Created: 2550
Modified: 2554-04-22
Issued: 2554-04-22
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: วพ.658.4092 ณ339ก ม.กร.จอ.
Language
tha
Thesis

Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยเกริก
RightsAccess:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 Article Sidebar PDF Main Article Content สุภัทรา นุชสาย นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วรกาญจน์ สุขสดเขียว

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1

สุภัทรา นุชสาย วรกาญจน์ สุขสดเขียว




Main Article Content


บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การจัดการความขัดแย้ง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการความขัดแย้ง กลุ่มตัวอย่างคือสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 จำนวน 38 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของบาสและอโวลิโอ และการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาตามแนวคิดของโธมัส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การจัดการความขัดแย้งโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการความขัดแย้งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง/การจัดการความขัดแย้ง

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผลงานของโกศล เนียมหอม

ผลงานของนายโกศล   เนียมหอม
รหัส 5901209347026
เลขที่ 26
สาขา บริหารการศึกษา  รุ่นที่ 3
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
วันที่ 12 พฤษภาคม 2561